สภาพทั่วไป
ภูมิศาสตร์
สภาพโดยทั่วไปของเทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์เป็นที่เนินสูง บริเวณจุดศูนย์กลางและลาดเอียงทุกด้านซึ่งล้อมรอบด้วยนาข้าว โดยมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 หรือถนนสายขุขันธ์–ศรีสะเกษ ตัดผ่านกลางชุมชน
อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเหนือ
- ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเหนือ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเหนือ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสำราญ
ประวัติ
เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ เดิมเป็น สุขาภิบาลโดยใช้ชื่อว่า สุขาภิบาลห้วยเหนือ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2499 และได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาล เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ ได้รับการพิจารณาจากกระทรวงมหาดไทย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาล จากเทศบาลตำบลห้วยเหนือ เป็น เทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2552 โดยเทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์มีพื้นที่ 1.5 ตร.กม. หรือประมาณ 937.5 ไร่
ประชากร
ประชากรในเขตเทศบาลจำนวน 4,660 คน เป็นชาย 2,278 คนและหญิง 2,382 คน จำนวน 1,425 ครัวเรือน มีความหนาแน่นประมาณ 3,326 คน/ตารางกิโลเมตร โดยกระจุกตัวอยู่บริเวณตอนกลางของชุมชนตามถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 และมีอัตราการเพิ่มของประชากรในเขตเทศบาลประมาณร้อยละ 0.12 อันเนื่องมาจากภายในเขตเทศบาลตำบลตำบลเมืองขุขันธ์ ได้มีการใช้พื้นที่เต็มพื้นที่แล้ว มีจำนวน 6 ชุมชน ได้แก่
- ชุมชนบ้านภูมิเหนือ (หมู่ 6)
- ชุมชนบ้านภูมิใต้ (หมู่ 6)
- ชุมชนบ้านภูมิตะวันตก (หมู่ 6)
- ชุมชนบ้านห้วย (หมู่ 1)
- ชุมชนบ้านตาปิ่น (หมู่ 14)
- ชุมชน บ.ข.ส. (หมู่ 6)
การตั้งถิ่นฐานของประชากรในเขตเทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์จะกระจุกตัวอยู่บริเวณภายในชุมชนเมือง โดยมีที่พักอาศัยอยู่บริเวณชานเมืองและพื้นที่การเกษตรจะอยู่นอกเขตเทศบาลโดยรอบ
เศรษฐกิ
การประกอบอาชีพของประชากรในเขตเทศบาลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- การพานิชยกรรม ในรูปของการค้าขายปลีกเกาะกลุ่มอยู่ที่บริเวณสองข้างถนนสายหลัก
- การอุตสาหกรรม จะกระจายอยู่ตามซอยหลัก ๆและพื้นที่พานิชย์จะเป็นอุตสาหกรรม ประเภทโรงสีข้าว ร้านซ่อมเครื่องยนต์ โรงน้ำแข็ง เป็นต้น
ธนาคาร
- ธนาคารกสิกรไทย
- ธนาคารออมสิน
- ธนาคารกรุงเทพ
- ธนาคารกรุงไทย
- ธนาคารไทยพาณิชย์
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
แหล่งการค้า
- เทสโก โลตัส สาขาขุขันธ์
- ส่องแสง ซูเปอร์สโตร์
- ตลาดสดเทศบาล 1
- ตลาดสดเทศบาล 2
- ตลาดสดแหลมทอง (เอกชน)
- "ตลาดต้องชม" ถนนอาหารปลอดภัยเทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์ (ตลาดโต้รุ่ง)
- ตลาดถนนคนเดิน (เฉพาะวันพฤหัสบดี)
- ตลาดนัด (เฉพาะวันที่ 8, 18 และ 28 ของเดือน)
การศึกษา
ศาสนา
- วัดกลางอัมรินทราวาส
- วัดไทยเทพนิมิต
การกีฬา/นันทนาการ
- สวนสาธารณะ 2 แห่ง {สวนสาธารณะอันเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์เจ้าเมืองขุขันธ์ พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ)}
- สระว่ายน้ำ 1 แห่ง
- สนามเทนนิส 1 แห่ง
สาธารณสุข
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
- โรงพยาบาลขุขันธ์
- ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง
- สมาชิกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
- โรงเรียนโอวจ๊ะ-แมจ๊ะ (ชมรมผู้สูงอายุเทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์)
การขนส่ง
ทางหลวงแผ่นดิน
ถนนในเขตเทศบาล
- ถนนไกรภักดี
- ถนนคูเมือง 1
- ถนนคูเมือง 2
- ถนนคูเมือง 3
- ถนนเทพนิมิตร
- ถนนเจริญราษฎ์สมบัติ
- ถนนหลวงปราบ
- ถนนภูมิเหนือ 2
- ถนนภูมิเหนือ 3
- ถนนขุขันธ์ภักดี
- ถนนสุขาภิบาล 15
- ถนนสุขาภิบาล 12
- ถนนภักดีโยธา
- ถนนศรีประชานุกูล
- ถนนศรีมงคล
- ถนนท้าวปัญญา
ซอยในเขตเทศบาล
- ซอยพระยาขุขันธ์
- ซอยบ้านห้วย
- ซอยเทพนิมต 1
- ซอยเทพนิมิต 2
- ซอยไชยภักดี
- ซอยขุขันธิน
- ซอยบริรักษ์
- ซอยอนันตภักดี
- ซอยศรีชาญชัย
- ซอยปวงตึ๊ก 1
- ซอยปวงตึ๊ก 2
- ซอยปวงตึ๊ก 3
- ซอยปวงตึ๊ก 4
- ซอยปวงตึ๊ก 5
- ซอยพิชัยภักดี
- ซอยวิเศษภักดี
- ซอยศรีมงคล
- ซอยอัมรินทราวาส
- ซอยตากะจะ
- ซอยภูมิเหนือ 1
- ซอยภูมิเหนือ 2
- ซอยศรีเมือง
- ซอยวิเศษสัจจา
- ซอยภูมิพัฒนา
- ซอยหลวงแก้วสุวรรณ
- ซอยสังขะบุรี
- ซอยสะเทือนภักดี
สถานีขนส่ง
- มีสถานีรับส่งผู้โดยสารขนาดเล็ก 2 แห่ง เป็นของเทศบาล 1 แห่ง เป็นของเอกชน 1 แห่ง